วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

การเข้ารหัส-ถอดรหัส

...การเข้ารหัสข้อมูลมีจุดประสงค์เพื่อรักษาความลับของข้อมูล ข้อมูลนั้นจะถูกเปิดอ่านโดยบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น หลักการของการเข้ารหัสข้อมูลคือแปลงข้อมูล (encrypt) ไปอยู่ในรูปของข้อมูลที่ไม่สามารถอ่านได้โดยตรง ข้อมูลจะถูกถอดกลับด้วยกระบวนการถอดรหัส (decryption)

...ข้อมูลที่สามารถอ่านได้ เรียกว่า plain text หรือ clear text ข้อมูลที่เข้ารหัสแล้วเราเรียกว่า cipher text ข้อมูลเมื่อเสร็จสิ้นการเข้ารหัสแล้ว ผลที่ได้ก็คือ cipher text ในการอ่านข้อความ cipher text นั้น การเข้ารหัสแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ

...1. Symmetric Cryptography (Secret key)
หรือบางทีอาจเรียกว่า Single-key algorithm หรือ one-key algorithm คือ การเข้ารหัสและถอดรหัสโดยใช้กุญแจรหัสตัวเดียวกัน คือ ผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีกุญแจรหัสที่เหมือนกันเพื่อใช้ในการเข้ารหัสและถอดรหัส ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 Symmetric Cryptography

...2. Asymmetric Cryptography (Public key)
การเข้ารหัสและถอดรหัสโดยใช้กุญแจรหัสคนละตัวกัน การส่งจะมีกุญแจรหัสตัวหนึ่งในการเข้ารหัส และผู้รับก็จะมีกุญแจรหัสอีกตัวหนึ่งเพื่อใช้ในการถอดรหัส ผู้ใช้รายหนึ่งๆจึงมีกุญแจรหัส 2 ค่าเสมอคือ กุญแจสาธารณะ (public key) และ กุญแจส่วนตัว (private key) ผู้ใช้จะประกาศให้ผู้อื่นทราบถึงกุญแจสาธารณะของตนเองเพื่อให้นำไปใช้ในการเข้ารหัสและส่งข้อมูลที่เข้ารหัสแล้วมาให้ ข้อมูลที่เข้ารหัสดังกล่าวจะถูกถอดออกได้โดยกุญแจส่วนตัวเท่านั้น
ในทางปฏิบัติแล้วมักมีการใช้การเข้ารัหสทั้งสองระบบร่วมกันเช่นในระบบ PGP (Pretty Good Privacy) ซึ่งใช้ในการเข้ารหัส E-mail จะใช้วิธีสร้าง session key ซึ่งเป็นรหัสลับตามแบบ secret key) เมื่อข้อมูลถูกเข้ารหัสด้วย session key แล้ว จากนั้น session key จะถูกเข้ารหัสโดยใช้กุญแจสาธารณะของผู้รับ และถูกส่งไปกับข้อมูลที่เข้ารหัสแล้ว

...การถอดรหัสนั้นทำในทางตรงกันข้าม ผู้รับจะใช้กูญแจส่วนตัวในการได้คืนมาของ session key ซึ่งหลังจากนั้นจึงนำ session key มาถอดรหัสข้อมูลอีกขั้นหนึ่ง

...การรวมกันของวิธีการเข้ารหัสสองวิธีเป็นการรวมความสะดวกของการเข้ารหัสแบบสาธารณะกับความเร็วในการเข้ารหัสแบบทั่วไป เนื่องจากการเข้ารหัสแบบทั่วไปเร็วกว่าการเข้ารหัสแบบสาธารณะประมาณ 1000 เท่า แต่การเข้ารหัสแบบสาธารณะมีข้อดีในเรื่องวิธีแจกจ่ายรหัส ดังนั้นจึงนิยมใช้การเข้ารกัสข้อมูลซึ่งมีขนาดใหญ่ด้วยวิธีการเข้ารหัสแบบทั่วไป และใช้ของการเข้ารหัสแบบสาธารณะสำหรับการส่งกุญแจของการเข้ารหัสแบบทั่วไป


ระบบรักษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์

ระบบรักษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์
...การรักษาความปลอดภัยบนระบบปฏิบัติการ LINUX เริ่มจากความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายหรือเวิร์กสเตชัน (Workstation) เนื่องจากความปลอดภัยของระบบเครือข่ายในองค์กรเริ่มจากคอมพิวเตอร์เพียงเครื ่องเดียวที่มีปัญหาเรื่องความปลอดภัย จนเป็นช่องโหว่ที่ทำให้เกิดความเสียหายได้การประเมินความปลอดภัยของเวิร์กสเตชันเมื่อใดที่ท่านพิจารณาความปลอดภัยของเวิร์กสเตชันให้พิจารณาประเด็นสำคัญต่อไปนี้*ความปลอดภัยของ BIOS และ Boot Loader : ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเวิร์กสเตชันปลอดภัยจากผู้ไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้ามาใช้งานในทางกายภาพ และไม่สามารถบูตเข้าสู่โหมด Single User หรือโหมดที่เรียกว่า Rescue Mode โดยไม่มีรหัสผ่านหรือพาสเวิร์ด (Password)*ความปลอดภัยเกี่ยวกับรหัสผ่าน : ตรวจสอบให้แน่ใจว่ารหัสผ่านหรือพาสเวิร์ดของผู้ใช้งานมีความรัดกุมมากเพียงพอ*ขอบข่ายของการควบคุม : ตรวจสอบสิทธิ์ของผู้ใช้งานบนเครือข่าย ทั้งผู้ใช้งานที่มีสิทธิ์จำกัด รวมทั้งท่านที่มีเอกสิทธิ์ทั้งหลาย โดยตรวจสอบสิทธิ์การใช้งานทรัพยากรบนเครื่องหรือเครือข่ายให้รัดกุมที่สุด*การตรวจสอบการให้บริการเครือข่ายบนเครื่อง : ตรวจสอบให้แน่ใจในขณะเครื่องกำลังทำงานอยู่ โดยตรวจสอบว่ามีบริการของเครือข่ายใดบ้างที่เครื่องของท่านกำลังรอคอยการให้บริการจากเครือข่าย โดยที่การรอคอยบริการจากเครือข่ายเหล่านี้มีความจำเป็นต้องใช้ทั้งหมดหรือไม่?*ตรวจสอบไฟร์วอลล์ (Firewall) ที่ติดตั้งบนเวิร์กสเตชัน : ประเภทของไฟร์วอลล์ที่ใช้ รวมทั้งความจำเป็นที่จะต้องใช้*ตรวจสอบเครื่องมือในรูปแบบของซอฟต์แวร์สำหรับสื่อสารกับเครื่องอื่น ๆ บนเครือข่ายความปลอดภัยของ BIOS และ Boot Loaderการติดตั้งรหัสผ่านให้กับ BIOS รวมทั้ง Boot Loader จะช่วยให้สามารถป้องกันการเข้ามาใช้งานเวิร์กสเตชันของท่านโดยไม่ได้รับอนุญาต การติดตั้งรหัสผ่านให้กับ BIOS หลังจากที่ท่านได้ปิดการใช้งานอุปกรณ์บางอย่างบนเวิร์กสเตชันจะสามารถช่วยให้ป้องกันการก๊อบปี้แฟ้มข้อมูล รวมทั้งป้องกันมิให้ผู้ประสงค์ร้ายจัดตั้งค่า BIOS ให้มีการบูตระบบจากฟลอปปี้ดิสก์หรือซีดีรอม ซึ่งจะทำให้สามารถแฮก (Hack) เข้าสู่ระบบได้การติดตั้งรหัสผ่านให้กับ BIOSต่อไปนี้เป็นเหตุผลหลักที่ท่านจะต้องพิจารณาใส่รหัสผ่านให้กับ BIOS
...1. ป้องกันมิให้ผู้อื่นสามารถตั้งค่า Configure ใน BIOS : หากสามารถตั้งค่า BIOS ได้ จะทำให้มีการบูตจากฟลอปปี้ดิสก์ ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่เข้าสู่ Rescue Mode หรือ Single User Mode และเมื่อเข้าสู่โหมดนี้ได้แล้ว จะสามารถส่งโปรแกรมที่ทำอันตรายเข้าไปในระบบ รวมทั้งสามารถทำสำเนาข้อมูลข่าวสารอันมีค่าของท่านได้ ท่านจะต้องใส่รหัสผ่านหลังจากที่ท่านได้จัดตั้งค่า BIOS ดังต่อไปนี้*Disable Floppy Disk Drive*ปิดพอร์ต Serial ทั้ง Com1 และ Com2*ปิดพอร์ต USB ด้วยการ Disable On-Board USB Devices*ปิดพอร์ต Parallel โดยการ Disableรหัสผ่านที่ท่านใส่อาจต้องมีถึง 2 ชั้น โดยชั้นแรกเป็นรหัสผ่านสำหรับเซตอัป CMOS ส่วนรหัสผ่านอีกชั้นหนึ่งเป็นรหัสผ่านที่จะต้องใส่ก่อนที่จะบูตฮาร์ดดิสก์หมายเหตุการปิดพอร์ตต่าง ๆ เหล่านี้ทำในกรณีที่ท่านคิดว่าจะไม่ใช้งานเครื่องสักระยะหนึ่ง หรือต้องการป้องกันเครื่องในยามคับขัน อย่างไรก็ดีรหัสผ่านของ BIOS ไม่ใช่วิธีการที่ป้องกันได้เด็ดขาด เนื่องจากผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถถอดแบตเตอรี่หรือตั้งจั๊มเปอร์ (Jumper) เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร เช่น รหัสผ่านของ BIOS สูญหายไปได้ ทางที่ดีใช้โปรแกรมเข้ารหัสแฟ้มข้อมูลจะดีกว่า เนื่องจากหากใครก๊อบปี้ไปก็ไม่สามารถเปิดดูได้หากไม่มีรหัสผ่านที่ป้องกันมาอย่างดีเหล่านี้
...2. ป้องกันการบูตระบบ : การใส่รหัสผ่านที่ BIOS ยังสามารถป้องกันการบูตระบบได้ โดยที่ผู้ใช้งานจะต้องใส่รหัสผ่านเสียก่อน จึงจะบูตระบบปฏิบัติการได้การใส่รหัสผ่านให้กับ Boot Loaderต่อไปนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ท่านจะต้องพิจารณาใส่รหัสผ่านเพื่อป้องกัน LINUX Boot Loader
2.1. ป้องกันมิให้สามารถ Access เข้าสู่ Single User Mode : หากผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถบูตเข้าสู่ Single Mode ได้ เขาจะสามารถเป็นผู้ใช้ในระดับ Root ได้
2.2. ป้องกันมิให้สามารถ Access เข้าสู่ GRUB Console : ถ้าเครื่องของท่านใช้ GRUB เป็น Boot Loader ผู้ไม่ประสงค์ดีจะสามารถใช้ GRUB Editor เพื่อเปลี่ยนค่า Configuration หรือรวบรวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับค่า Configuration บนเครื่องจากคำสั่ง cat
...3. ป้องกันมิให้มีการ Access เข้ามาที่เครื่องโดยระบบปฏิบัติการที่ไม่มีความปลอดภัยที่เพียงพอปกติ Boot Loader ที่มากับ LINUX สำหรับทำงานบนเครื่องพีซีที่ใช้ซีพียูตระกูล x86 จะมีอยู่ 2 รายการ ได้แก่ GRUB และ LILO (รายะเอียดเกี่ยวกับการทำงานของ Boot loader แต่ละตัวให้ดูจาก Red Hat Reference Guideการใช้รหัสผ่านเพื่อปกป้อง GRUBท่านสามารถจัด Configure เพื่อใส่รหัสผ่านให้กับ GRUB ใน Configuration Files ได้ ประการแรกให้กำหนดรหัสผ่านที่ต้องการ จากนั้นเปิด Shell Prompt แล้ว Login เข้าไปด้วย Root ก่อนที่จะพิมพ์ข้อความดังนี้/sbin/grub-md5-cryptเมื่อหน้าจอปรากฏ Prompt เพื่อให้ท่านใส่รหัสผ่านบนหน้าจอ ให้ท่านใส่ชื่อรหัสผ่านลงไป จากนั้นกดปุ่ม Enter จะปรากฏข้อความดังนี้password: xxxxxxxx < ----- ใส่รหัสผ่าน$1$bv0350$PZHL35jVyF01a5eL02R7V/ < ----- ค่าที่เครื่องสร้างขึ้นมาหลังจากใส่รหัสผ่านต่อไปให้แก้ไข GRUB Configuration Files ที่มีชื่อว่า /boot/grub/grub.conf ให้เปิดไฟล์ จากนั้นเลื่อนไปใต้บรรทัดที่มีข้อความว่า Time-out = จากนั้นแทรกข้อความต่อไปนี้ลงไปPassword --md5 ให้เปลี่ยน เป็นค่าที่เครื่องคอมพิวเตอร์สร้างขึ้นหลังจากที่ใส่รหัสผ่านใน /sbin/grub-md5-cryptครั้งต่อไปที่ท่านบูตระบบขึ้นมา ที่เมนูของ GRUB จะไม่ยอมให้ท่านสามารถ Access เข้าตัว Editor หรือคำสั่งโดยไม่กดปุ่ม "p" จากนั้นตามด้วยรหัสผ่านของท่านเองเสียก่อนอย่างไรก็ดีวิธีนี้ก็ยังไม่สามารถป้องกันการบูตเข้าสู่ระบบปฏิบัติการที่ไม่ปลอดภัยสำหรับฮาร์ดดิสก์ที่เป็นระบบ Multi-Boot ดังนั้นเพื่อให้การป้องกันมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้นท่านจะต้องแก้ไขบางส่วนในไฟล์ /boot/grub/grub.confหมายเหตุGRUB ยอมรับรหัสผ่านที่มีรูปแบบอักษรเปล่า ๆ ไม่ต้องเข้ารหัส อย่างไรก็ดีเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นควรเลือกใช้ MD5 ซึ่งเป็นการเข้ารหัสจะดีกว่าภายใน /boot/grub/grub.conf ให้ท่านมองบรรทัดที่เป็นไตเติล (Title) ของระบบปฏิบัติการที่ไม่ปลอดภัย จากนั้นเพิ่มบรรทัดที่มีคำว่า lock เข้าไปใต้บรรทัดนั้น ตัวอย่างเช่นTitle DOSLockระบบปฏิบัติการที่ไม่ปลอดภัยในที่นี้หมายถึงระบบปฏิบัติการ DOS ซึ่งขณะที่จะบูตท่านสามารถเลือกบูตจาก DOS หรือ LINUX โดยตรงบนฮาร์ดดิสก์แบบ Multi-Bootข้อควรระวังท่านควรจะต้องมีบรรทัดที่เป็นรหัสผ่านอยู่ภายใน /boot/grub/grub.conf เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามปกติ มิเช่นนั้นผู้ประสงค์ร้ายสามารถ Access เข้าไปที่ GRUB Editor Interface เพื่อนำบรรทัดที่มีข้อความว่า Lock ออกไปได้หากท่านต้องการที่จะมีรหัสผ่านสำหรับ Kernel หรือระบบปฏิบัติการเป็นการเฉพาะ ให้เพิ่มคำว่า Lock เข้าไปที่ Stanza จากนั้นตามด้วยบรรทัดที่เป็นรหัสผ่านในแต่ละ Stanza ที่ท่านต้องการมีรหัสผ่านเป็นการเฉพาะเพื่อป้องกัน ท่านจะต้องกำหนดรหัสผ่านให้เป็นไปในรูปแบบดังต่อไปนี้Title DOSLockPassword -md5 อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องตระหนักคือข้อความที่อยู่ภายใน /boot/grup/grup.conf ปกติจะมีข้อความที่สามารถอ่านได้ทันที ดังนั้นเป็นเรื่องที่ดีถ้าท่านจะเปลี่ยนแปลงสักนิดเพื่อป้องกัน โดยไม่ทำให้การทำงานของไฟล์นี้เปลี่ยนแปลง ท่านจะต้องกำหนดด้วยคำสั่งดังนี้cmod 600 /boot/grub/grub.confการติดตั้งรหัสผ่านให้กับ LILOLILO เป็น Boot Loader ที่เรียบง่ายกว่า GRUB และไม่มี Command Interface ดังนั้นท่านไม่ต้องกังวลใจว่าผู้โจมตีจะสามารถ Access เข้าไปที่ระบบก่อนที่จะโหลด Kernel เสร็จ อย่างไรก็ดี LILO มีจุดอ่อนที่ผู้โจมตีสามารถบูตเข้าสู่โหมด Single User หรือบูตที่ระบบปฏิบัติการที่ไม่มีความปลอดภัยได้ท่านสามารถกำหนดให้ LILO จะต้องสอบถามหารหัสผ่านทุกครั้งก่อนที่จะบูตระบบปฏิบัติการรวมทั้ง Kernel ได้โดยการเพิ่มรหัสผ่านเข้าไปที่ส่วน Global ของ Configuration Files ของมัน วิธีการปฏิบัติคือให้ไปที่ Shell Prompt แล้ว Login ด้วย Root จากนั้นให้แก้ไขไฟล์ที่ชื่อ /etc/lilo.conf โดยใส่รหัสผ่านไว้ที่บริเวณก่อนหน้า image Stanza โดยรหัสผ่านที่ใส่มีลักษณะดังนี้Password= < -----------ใส่ชื่อรหัสผ่านที่ท่านต้องการจะใช้งาน
...หมายเหตุทุกครั้งที่ท่านแก้ไขข้อความใน /etc/lilo.conf ท่านจะต้องรันคำสั่ง /sbin/lilo -v เพื่อให้การเปลี่ยนค่าใน /etc/lilo.conf นั้นมีผลในทางปฏิบัติเช่นเดียวกับ /boot/grub/grub.conf และ Lilo.conf เป็นไฟล์ที่สามารถเปิดอ่านได้ เป็นข้อความชัดเจน หากท่านต้องการป้องกัน LILO ด้วยรหัสผ่าน ท่านควรอนุญาตให้ Root สามารถอ่าน รวมทั้งสามารถ Edit ได้เพียงผู้เดียว และเนื่องจากรหัสผ่านอาจเป็นแบบอักษรเปล่า ดังนั้นท่านสามารถกำหนดรหัสผ่านที่มีการเข้ารหัสดังนี้cmod 600 /etc/lilo.confการติดตั้ง LILO ส่วนใหญ่จะใช้ Configuration Files ดังต่อไปนี้boot = /dev/hda # or your root partitiondelay = 10 # delay, in tenth of a second (so you can interact)vga = 0 # optional. Use "vga=1" to get 80x50#linear # try "linear" in case of geometry problems.image = /boot/vmlinux # your zImage fileroot = /dev/hda1 # your root partitionlabel = Linux # or any fancy nameread-only # mount root read-onlyother = /dev/hda4 # your dos partition, if anytable = /dev/hda # the current partition tablelabel = dos # or any non-fancy name

VIRUS

ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์

1. บูตไวรัส
...บูตไวรัส (boot virus) คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมาก มันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่างกำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันที
...บูตไวรัสจะติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิสก์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และก็จะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

2. ไฟล์ไวรัส
...ไฟล์ไวรัส (file virus) ใช้เรียกไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม เช่นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต นามสกุล.exe โปรแกรมประเภทแชร์แวร์เป็นต้น

3. มาโครไวรัส
...มาโครไวรัส (macro virus) คือไวรัสที่ติดไฟล์เอกสารชนิดต่างๆ ซึ่งมีความสามารถในการใส่คำสั่งมาโครสำหรับทำงานอัตโนมัติในไฟล์เอกสารด้วย ตัวอย่างเอกสารที่สามารถติดไวรัสได้ เช่น ไฟล์ไมโครซอฟท์เวิร์ด ไมโครซอฟท์เอ็กเซล เป็นต้น

4. โทรจัน
...ม้าโทรจัน (Trojan) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอยนั่นเอง ซึ่งการติดนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจันจะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสุดท้ายที่มันต่างกับไวรัสและเวิร์ม คือ มันจะสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง

5. หนอน
...หนอน (Worm) เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้งหมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจายตัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระดับการทำลายล้างยิ่งสูงขึ้น

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

<< เทคนิคการปรับแต่ง Registry >>

โชว์ Background แบบเต็มๆด้วยการซ่อน Desktop
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่[HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDesktop ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง
ซ่อนหน้า Background Setting
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่[HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDispBackgroundPage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง
ซ่อนหน้า Appearance Setting
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDispAppearancePage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง
ซ่อนหน้า Display Setting
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDispSettingsPage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง
ซ่อนหน้า Screensaver Setting
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDispScrSavPage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง
ซ่อน Device Manager
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\System] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDevMgrPage ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง
ซ่อนไอคอน Network Neighbourhood
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoNetHood ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง
กันไว้ไม่ให้ใครมาเพิ่ม Printer
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoAddPrinter ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง
กันไว้ไม่ให้ใครมาลบ Printer
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoDeletePrinter ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง
ซ่อน My Pictures ตรง Start Menu
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Policies\Explorer] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า NoSMMyPictures ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง
ลบลูกศรที่ Shortcut
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CLASSES_ROOT\lnkfile] คลิก Name ที่ชื่อว่า IsShortcut แล้วกดปุ่ม Delete เพื่อลบออกไป หรือ Double Click แล้วใส่ค่าเป็น No
แสดงไฟล์ Operating System ที่ซ่อนอยู่
เรียก Regedit ขึ้นมา แล้วไปที่ [HKEY_CURRENT_USER\Ssoftware\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Explorer\Advanced] คลิกขวา เลือก New >> DWORD Value แล้วตั้งชื่อว่า ShowSuperHidden ให้ Double Click ขึ้นมา แล้วใส่ค่า Value Data เป็น 1 หากต้องการยกเลิก ก็เข้าไปลบ KEY ที่ได้สร้างเอาไว้ออก หรือเปลี่ยนค่าเป็น 0 และ Restart เครื่อง
สรุป Command Line
คลิกขวาในพื้นที่ว่างๆบน Desktop ของคุณ หรือพื้นที่บริเวณว่างๆตรง Background ของคุณนั่นเอง และเลือกที่ New >> Shortcut ในช่อง Command line: ให้คุณเลือกข้อความจากด้านล่างนี้ไปใส่ตาม Shortcut ที่คุณต้องการจะสร้างC:\WINDOWS\RUNDLL32.EXE C:\WINDOWS\SYSTEM\USER.EXE,ExitWindows (สำหรับการสั่ง Shutdown)C:\WINDOWS\RUNDLL32.EXE C:\WINDOWS\SYSTEM\SHELL32.DLL,SHExitWindowsEx 2 (สำหรับการสั่ง Restart)C:\WINDOWS\RUNDLL32.EXE C:\WINDOWS\SYSTEM\SHELL32.DLL,SHExitWindowsEx 0 (สำหรับการสั่ง Logoff)สำหรับ Win Xpคลิกขาวบน Desktop เลือก New >> Shortcut จากนั้นพิมพ์ shutdown.exe -s -t 00 (สำหรับการสั่ง Shutdown)shutdown.exe -r -t 00 (สำหรับการสั่ง Restart)shutdown.exe -l -t 00 (สำหรับการสั่ง Logoff)
Shortcut เดียว เปิดหลายโปรแกรม
ให้เปิด Notepad ขึ้นมาค้างเอาไว้ก่อน ต่อจากนั้นไป Copy ส่วนของ Target ของ Shortcut แต่ละตัวเข้ามาไว้ใน Notepad นี้ โดยวิธีการเข้าไป Copy Target ก็คือ ให้คลิกขวาที่ Shortcut ของโปรแกรมที่ต้องการจะให้มีการเปิด แล้วเลือก Properties และที่หัวข้อ Shortcut ก็จะพบกับส่วนของ Target: ให้ทำการ Copy ข้อความในส่วนนี้มาทั้งหมดเมื่อ Copy ได้เรียบร้อยแล้ว ให้กด Cancel ไป จากนั้นกลับมาที่ Notepad แล้วทำการวางข้อความ Target ที่ได้ Copy มาเอาไว้ใน Notepadข้อควรระวังในจุดนี้ก็คือ1. เวลานำมาวางใน Notepad ต้องเว้นบรรทัดในแต่ละ Target ด้วย มิเช่นนั้นจะถือว่าผิด2. ห้ามลบเครื่องหมายฟังหนู (") ออก ให้คุณใส่เอาไว้เช่นนั้น มิเช่นนั้นจะถือว่าผิดจากนั้นเมื่อเรียบร้อยแล้ว ให้ Save ข้อมูลต่างๆใน Notepad ตัวนี้เป็น Batch File ซึ่งวิธีการ Save เป็น Batch File ก็คือ ให้ Save ไฟล์นี้ให้มีนามสกุลเป็น .bat นั่นเอง โดยจะใช้ชื่อว่าอะไรก็ได้ สำหรับในตัวอย่างนี้ จะ Save เป็นไฟล์ชื่อว่า Test.bat โดยที่ระหว่าง Save ให้กำหนด Save as type: เป็น All Files (*.*) ด้วย มิเช่นนั้นชื่อไฟล์อาจจะมี .txt ต่อท้ายด้วย ก็จะทำให้ผิด และไฟล์ๆนี้สามารถ Save ไว้ที่ Directory ไหนภายในเครื่องก็ได้

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

คำสั่ง DOS

......เรียนลัดคำสั่ง Dos ที่จำเป็นสำหรับการซ่อมคอม......
....ความจำเป็นในการใช้ (Dos) ยังคงมีอยู่ แม้ว่าในปัจจุบันบทบาทของมันจะเริ่มลดลงไปมากหลังจาก Windows เริ่มมีความสมบูรณ์และมีสิ่งอำนวยความสะดวกมาให้ชนิดที่ไม่ต้องพึ่งดอสเลย แต่ถ้าเมื่อไรเครื่องของคุณยังไม่มี Windows หรือเข้าไปใช้งาน Windows ไม่ได้ คำสั่งดอสก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการใช้คำสั่งดอสจะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้เช่นการ การซ่อมแซมไฟล์ที่เสีย ก๊อปปี้ไฟล์ข้อมูล แก้ปัญหา Bad Sector ฯลฯ ดังนี้เราควรทราบคำสั่งบางคำสั่งที่จำเป็นไว้บ้างเพื่อนำไปใช้งานในยามฉุกเฉิน
....Dos ย่อมาจาก Disk Operating System เป็นระบบปฎิบัติการรุ่นแรก ๆ ซึ่งการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการทำงานบนระบบปฎิบัติการดอสเป็นหลัก โดยการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานโดยการใช้คำสั่งผ่านบรรทัดคำสั่ง (Command Line) ที่นิยมใช้กันคือ MS-Dos ซึ่งต่อมาระบบปฎิบัติการดอสจะถูกซ่อนอยู่ใน Windows ลองมาดูกันว่าคำสั่งไหนบ้างที่เราควรรู้จักวิธีใช้งาน

...CD คำสั่งเข้า-ออก ในไดเร็คทอรี่
..CD (Change Directory) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนไดเร็คทอรี่ในโหมดดอส เช่น ถ้าต้องการรัน คำสั่งเกมส์ที่เล่นในโหมดดอส ซึ่งอยู่ในไดเร็คทอรี MBK ก็ต้องเข้าไปในไดเร็คทอรีดังกล่าวเสี่ยก่อนจึงจะรันคำสั่งเปิดโปรแกรมเกมส์ได้
รูปแบบคำสั่ง
CD [drive :] [path]
CD[..]
..เมื่อเข้าไปในไดเร็คทอรีใดก็ตาม แล้วต้องการออกจากไดเร็คทอรีนั้น ก็เพียงใช้คำสั่ง CD\ เท่านั้นแต่ถ้าเข้าไปในไดเร็คทอรีย่อยหลาย ๆ ไดเร็คทอรี ถ้าต้องการออกมาที่ไดรว์ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ให้ใช้คำสั่ง CD\ เพราะคำสั่ง CD.. จะเป็นการออกจากไดเร็คทอรีได้เพียงลำดับเดียวเท่านั้น
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง


CD\ กลับไปที่ Root ระดับสูงสุด เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:\>docs\data> หลังจากใช้คำสั่งนี้ก็จะย้อนกลับไปที่ C:\ >
CD.. กลับไปหนึ่งไดเร็คทอรี เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:\windows\command> หลังจากนั้น ใช้คำสั่งนี้ก็จะก็จะย้อนกลับไปที่ C:\windows>


...CHKDSK (CHECK DISK) คำสั่งตรวจเช็คพื้นที่ดิสก์
..CHKDSK เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลของหน่วยความจำ และการใช้งานดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ การรายงานผลของคำสั่งนี้จะเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ไดเร็คทอรี และ FAT ของดิสก์ หรือไฟล์ เพื่อหาข้อมผิดพลาดของการเก็บบันทึก ถ้า CHKDSK พบว่ามี Lost Cluster จะยังไม่แก้ไขใด ๆ นอกจากจะใช้สวิตซ์ /f กำหนดให้ทำการเปลี่ยน Lost Cluster ให้เป็นไฟล์ที่มีชื่อไฟล์เป็น FILE0000.CHK ถ้าพบมากว่า 1 ไฟล์ อันต่อไปจะเป็น FILE0002.CHK ไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังสามารถรายงานปัญหาที่ตรวจพบได้อีก อย่างเช่น จำนวน Bad Sector , Cross-ling Cluster (หมายถึง Cluster ที่มีไฟล์มากกว่าหนึ่งไฟล์แสดงความเป็นเจ้าของ แต่ข้อมูลใน Cluster จะเป็นของไฟล์ได้เพียงไฟล์เดียวเท่านั้น)
รูปแบบคำสั่ง
CHKDSK [drive:][[path]filename] [/F] [/V]
[drive:][path] กำหนดไดรว์ และไดเร็ทอรีที่ต้องการตรวบสอบ
filename ชื่อไฟล์ที่ต้องการให้ตรวจสอบ
/F สั่งให้ Fixes Errors ทันทีที่ตรวจพบ
/V ขณะที่กำลังตรวจสอบ ให้แสดงชื่อไฟล์และตำแหน่งของดิสก์บนหน้าจอด้วย
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง


C:\WINDOWS>CHKDSK D: ตรวจสอบข้อมูลการใช้งานดิสก์ในไดรว์ D
C:\>CHKDSK C: /F ตรวจสอบ ไดรว์ C พร้อมกับซ่อมแซมถ้าตรวจเจอปัญหา


...COPY คำสั่งคัดลอกไฟล์
..Copy เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ จากไดเร็คทอรีหนึ่งไปยังไดเร็คทอรีที่ต้องการ คำสั่งนี้มีประโยชน์มากควรหัดใช้ให้เป็น เพราะสามารถคัดลอกไฟล์ได้ยามที่ Windows มีปัญหา
รูปแบบคำสั่ง
COPY [Source] [Destination]
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง


C:\COPY A:README.TXT คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จากไดรว์ A ไปยังไดรว์ C
C:\COPY README.TXT A: คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จากไดรว์ C ไปยังไดรว์ A
C:\INFO\COPY A:*.* คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C
A:\COPY *.* C:INFO คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C


...DIR คำสั่งแสดงไฟล์และไดเร็คทอรีย่อย
..เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายชื่อไฟล์และไดเร็คทอรี คำสั่งนี้ถือเป็นคำสั่งพื้นฐานที่ต้องใช้อยู่เป็นประจำ เพื่อจะได้รู้ว่าในไดรว์หรือไดเร็คทอรีนั้น ๆ มีไฟล์หรือไดเร็คทอรีอะไรอยู่บ้าง
รูปแบบคำสั่ง
DIR /P /W
/P แสดงผลทีละหน้า
/W แสดงในแนวนอนของจอภาพ
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง

C:\>DIR ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีทั้งหมดในไดรว์ C
C:\>DIR /W ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีทั้งหมดในไดรว์ C ในแนวนอน
C:\>INFO\DIR /P ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีย่อยในไดเร็คทอรี INFO โดยแสดงทีละหน้า
C:\>INFO\DIR *.TEX ให้แสดงรายชื่อไฟล์ทั้งหมดในไดเร็คทอรี INFO เฉพาะที่มีนามสกุล TXT เท่านั้น
C:\> DIR BO?.DOC ให้แสดงรายชื่อไฟล์ในไดรว์ C ที่ขึ้นต้นด้วย BO และมีนามสกุล DOC ในตำแหน่ง ? จะเป็นอะไรก็ได้

วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551

คำอธิบายรายวิชาระบบปฏิบัติการ1

รหัสวิชา 4121401
ชื่อวิชาภาษาไทย ระบบปฏิบัติการ 1
ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ Operating Systems 1
คำอธิบายรายวิชา
.......ความหมาย และวิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ บทบาทหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ การจ่ายงานหรือการจัดสรรหน่วยประมวลผล การบริหารและการจัดการหน่วยความจำ การจัดคิวงานและการจัดสรรทรัพยากรการจัดการรับข้อมูล และการแสดงผลระบบแฟ้ม การควบคุม การคืนสู่สภาพเดิม
หน่วยกิต 3(2-2)